“คำตอบที่ได้จาก ChatGPT เราเอาไปใช้งานได้จริง ใช่ไหม?”
ถ้าตอบตามตรงเลยคือ ไม่ได้ทั้งหมดครับ
แต่ถ้าให้ “ChatGPT” เป็นผู้ช่วย
คำตอบคือ “ChatGPT” ช่วยเราได้ครับ

5 ข้อสำคัญเกี่ยวกับ “ChatGPT”
✅️ มีโอกาสสะกดคำผิด
ถ้าเป็นข้อมูลที่ใช้กับลูกค้า หรือ งานที่ทางการมาก ๆ ย้ำว่าควรตรวจคำสะกดให้ละเอียดอีกครั้งก่อนนำไปใช้ เพราะ “ChatGPT” คือแหล่งข้อมูลที่ดี แต่จะไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องให้เรา
✅️ ข้อมูลปี 2021
ต้องบอกอย่างนี้ก่อนว่า ข้อมูลที่ “ChatGPT” นำมาตอบเรา ยังเป็นข้อมูลถึงแค่ปี 2021 ยังไม่ปัจจุบัน ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึก ตามเทรนด์ปัจจุบันเลย “ChatGPT” จะยังไม่ตอบโจทย์ตรงนี้ อาจจะต้องหาข้อมูลจาก Search Engine ที่มีข้อมูลปัจจุบันมาใช้ก่อน
✅️ ระวังเรื่องลิขสิทธิ์
ด้วยความที่เค้าเป็น AI ถูกป้อนโปรแกรมให้มีหน้าที่ตอบคำถาม แต่ไม่ได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นข้อมูลเชิงวิชาการ หรือข้อมูลที่ต้องมีแหล่งอ้างอิง ก็ควรตรวจสอบที่มาก่อนนำข้อมูลนั้นไปใช้ครับ
✅️ ข้อมูลภายในบริษัทมีโอกาสรั่วไหลได้
ข้อมูลที่ sensitive เป็นข้อมูลภายในบริษัท ทางที่ดีอย่าบอกให้ “ChatGPT” รู้ เพราะ “ChatGPT” ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เพื่อตอบคำถาม ถ้าหากเราใส่รายละเอียดภายในของบริษัทลงไปเวลาที่คุยกับเค้า แล้วข้อมูลนี้ไป match กับคำถามของบริษัทอื่น มีโอกาสที่ “ChatGPT” จะนำข้อมูลไปบอกคนอื่นได้ครับ
✅️ ไม่เข้าใจอารมณ์มนุษย์
ถ้าพูดในแง่ของงานที่ต้องใช้อารมณ์มนุษย์มาเกี่ยวข้องด้วย หรือ ในแง่จิตวิทยา เช่น งานด้านการตลาด ที่เราต้องเร้าให้ลูกค้ามาซื้อด้วยการใช้อารมณ์ประกอบ งานประเภทนี้ อาจจะให้น้องช่วยไม่ค่อยได้ผลลัพธ์มากเท่ากับ เรา create ขึ้นมาเองครับ เพราะ “ChatGPT” จะไม่รู้จักลูกค้าเราดีพอ เท่ากับเราเอง
สรุปว่า งานที่ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง งานที่ต้องใช้อารมณ์ประกอบ งานที่เป็นข้อมูลเชิงลึก เราให้ “ChatGPT” ช่วยเสนอไอเดียได้ แต่เราต้องตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น ก่อนนำไปใช้งานจริงด้วย