“ChatGPT” ผู้ช่วยยุคใหม่ทำได้ทุกงาน พูดคุยแก้เหงา ตอบปัญหาชีวิต แม้กระทั่งเป็นเลขาส่วนตัว

หากมีเลขาที่พร้อมตอบคุณตลอด 24 ชั่วโมง ทำงานแบบไม่มีวันหยุด ถามอะไรเขาก็ยินดีตอบกลับมาในเวลาไม่กี่วินาที งานเล็กงานน้อยไม่เกี่ยง งานใหญ่ระดับผู้บริหารองค์กรก็ช่วยได้ ค่าตัวก็ถูก เริ่มต้นฟรีอีกด้วย แบบนี้ใคร ๆ ก็อยากให้มาเป็นเลขาแน่นอน และเขาก็พร้อมดูแลทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน เจ้าของธุรกิจ พ่อบ้านแม่บ้าน หรือคุณลุงสูงวัย แน่นอนที่ทำได้ขนาดนี้ เพราะเขาคือ “ChatGPT”

ถามอะไรก็ตอบได้ตั้งแต่ไอเดียทริปท่องเที่ยว คิดเมนูมื้อเย็นสำหรับสายสุขภาพ ช่วยทำบทความ เขียนหนังสือ แต่งบทกวี บอกเคล็ดลับดูแลเส้นผม ออกแบบตัวการ์ตูนในจินตนาการ หรือจะเขียนโค้ดก็ทำได้ แบบนี้คนทั่วโลกจึงพร้อมที่จะใช้งาน “ChatGPT” อย่างหนัก เพราะนอกจากจะทำงานได้หลายอย่างสารพัดนึดแล้ว ยังตอบกลับเป็นภาษาที่เป็นมนุษย์ ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าคุยกับบอทเลย 

การมาของ “ChatGPT” ทำให้ยุคนี้เป็นยุคทองของ AI มีหลายองค์กร หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือแม้แต่ Startup ต่างก็พัฒนา AI ออกสู่ตลาดมากขึ้นเท่าตัว

“ChatGPT” คืออะไร

“ChatGPT” คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาโดย “OpenAI” ซึ่งเป็นแบบจำลองภาษาธรรมชาติ (natural language processing) ที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) และโครงข่ายประสาทเทียม (neural networks) เพื่อสร้างระบบที่สามารถสื่อสารและตอบคำถามของผู้ใช้ผ่านหน้าต่างการสนทนาเสมือน (chat interface) โดยมุ่งหวังที่จะให้ประสบการณ์การสนทนาที่ใกล้เคียงกับการสนทนากับมนุษย์มากที่สุด

“ChatGPT” ให้คำตอบที่มาจากการประมวลฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทั่วโลกตามเว็บไซต์ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบทความในเว็บบล็อก ข่าวสาร หนังสือ เว็บไซต์การศึกษา และอื่น ๆ โดยที่ “ChatGPT” ไม่รู้ว่านั่นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่  และไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้งหรือประเด็นที่ซับซ้อนได้เท่ามนุษย์

ความนิยมในการใช้ “ChatGPT” 

“ChatGPT” ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก หลังจากที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ซึ่งมีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่

1. บริษัทและองค์กร

ใช้ “ChatGPT” เพื่อประสานงานกับลูกค้า หรือใช้งานในการให้บริการสนับสนุนลูกค้า การตอบคำถามทางธุรกิจ การสนับสนุนทางเทคนิค และอื่น ๆ

2. บุคคลทั่วไป

ผุ้ที่มีคำถามหรือความต้องการในหลากหลายเรื่อง เช่น การค้นหาข้อมูล การให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าหรือบริการ และอื่น ๆ

3. นักศึกษาและนักวิจัย

กลุ่มนี้ใช้ “ChatGPT” เพื่อให้คำแนะนำหรือแนวทางในการเรียนรู้ เช่น การเตรียมสอบ การศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจ และการศึกษาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

4. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน และผู้สร้างเทคโนโลยี

นำ “ChatGPT” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาแอปพลิเคชันที่ให้บริการต่าง ๆ เช่น Chat bot, Virtual Assistant เป็นต้น

5. ผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

คนกลุ่มนี้มักเข้ามาถามเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิค หรือคำถามทางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

5 ข้อดีของ “ChatGPT”

“ChatGPT” มีความนิยมในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากมีความสามารถในการให้คำปรึกษา ตอบคำถาม และช่วยลดระยะเวลาการทำงานของมนุษย์ได้ดี หากจะพูดถึงข้อดีสั้น ๆ ของ “ChatGPT” มีดังนี้

1. สามารถสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและน่าสนใจได้

“ChatGPT” สามารถสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและความคมชัดในหลากหลายแนวของเนื้อหา เช่น การเขียนบทความ เพจเว็บ โปสเตอร์ และอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างเนื้อหามากมาย

2. เรียนรู้และปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง เฉียบคมขึ้นเรื่อย ๆ

“ChatGPT” สามารถเรียนรู้และปรับปรุงคำตอบจากข้อมูลที่ถูกนำเข้าได้เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ “ChatGPT” มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพในการให้คำตอบที่ดีขึ้น 

3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำถามหรือปัญหา

“ChatGPT” สามารถให้คำแนะนำและช่วยเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น แก้ปัญหาธุรกิจ การเลือกตัวเลือก การวางแผน ฯลฯ ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์และเหมาะสม

4. ตอบคำถามได้รวดเร็ว แม่นยำสูง

“ChatGPT” สามารถตอบคำถามได้ทันที รวดเร็ว และแม่นยำค่อนข้างสูง จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งาน 

5. ช่วยเตรียมเอกสารและงานที่เกี่ยวข้องได้

“ChatGPT” สามารถช่วยให้ผู้ใช้เตรียมเอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเขียนเรื่องราว การสร้างเนื้อหาต่าง ๆ และการสนับสนุนในกระบวนการทำงาน

จะใช้งาน “ChatGPT” ได้อย่างไร

คุณสามารถใช้ “ChatGPT” ด้วยการเข้า OpenAI หรือแอปพลิเคชันมือถือ โดยขั้นตอนมีดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ https://chat.openai.com/ หรือแอปพลิเคชัน “ChatGPT” 

2. ลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบ เพื่อเข้าถึงบริการ “ChatGPT” 

3. พิมพ์คำถามหรือข้อความที่คุณต้องการสอบถามหรือสนทนากับ “ChatGPT”

4. รอรับคำตอบหรือการสนทนาจาก “ChatGPT” ซึ่งอาจแสดงผลเป็นข้อความหรือเสียงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน

5. สามารถถามคำถาม หรือสนทนากับ “ChatGPT” เพิ่มเติมตามต้องการ 

จุดเด่นของ “ChatGPT” ที่แตกต่างจากแชตบอตทั่วไป

จุดเด่นหลักๆ ของ “ChatGPT” คือรูปประโยคที่ดูเป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์ใช้สื่อสารกัน ทำให้หลายธุรกิจนำไปปรับใช้ในฝ่ายบริการลูกค้า (Customer Service) หรือเอาไปใช้ Plug-in ตอบแชทลูกค้า รวมถึงงานเขียนต่าง ๆ

 

“ChatGPT” ทำอะไรได้บ้าง?

บอกเลยว่า “ChatGPT” ทำได้หลายอย่างมาก และมีคนทั่วโลกต่างใช้งานมันในหลากหลายแง่มุม ซึ่งนับวันก็จะยิ่งมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้บางคนเริ่มกลัว AI อย่างเจ้าแชทบอทนี้เข้าเสียแล้ว 

ยกตัวอย่างงานยอดนิยมที่ใช้ “ChatGPT” ช่วยทำ

สร้างสรรค์งานเขียน

“ChatGPT” ช่วยให้ไอเดียงานเขียน และเขียนแทนเราได้เลย ตั้งแต่แต่งเนื้อเพลง เรื่องสั้น บทความ บทกวี บทความยาว หรือแม้แต่เป็นนักเขียนเงาให้เราได้ด้วย ล่าสุดมีคนใช้ “ChatGPT” แต่งหนังสือให้ จากปกติที่ต้องเขียนเป็นเดือน แต่ “ChatGPT” ทำให้เสร็จได้ภายใน 10 นาทีเท่านั้น

ให้ไอเดียใหม่ ๆ

หลายครั้งที่เราคิดงาน แต่คิดไม่ออก บางทีคิดเป็นชั่วโมง เป็นวันก็ยังคิดไม่ออก แต่พอถาม “ChatGPT” กลับได้ไอเดียสุดเจ๋งกลับมาภายในไม่กี่วินาที แต่การที่ “ChatGPT” จะสามารถให้ไอเดียที่ตรงใจเราได้ เราต้องป้อนคำสั่ง (Prompt) ที่เกี่ยวกับ insight ของเราลงไปให้ก่อน เพื่อให้ “ChatGPT” เรียนรู้และรู้จักเราให้มากขึ้น

ลดเวลาการทำงานที่ซ้ำซาก

งานที่ทำซ้ำ ๆ แต่ไม่มีระบบรองรับ สามารถใช้ “ChatGPT” สร้างระบบ Automation วาง Flow การทำงานให้ได้เลย ประหยัดเวลาและทรัพยากรอย่างมาก ทำให้มีเวลาไปสร้างประสิทธิผลในงานด้านอื่น ๆ อย่างเต็มที่ต่อไป หรือมีเวลาพักผ่อนมากขึ้นด้วยแหละ

ปรึกษาปัญหาชีวิต

บางครั้งที่เรารู้สึกเครียด มีปัญหา อยากหาที่ระบาย การใช้ “ChatGPT” ก็เป็นทางออกนึงที่ดี เพราะเปิดขึ้นมาแล้วพิมพ์ระบายลงไปเต็มที่ได้เลย และสิ่งที่ได้กลับมาก็คือ การตอบที่ฮีลใจ หรือได้คำแนะนำในการแก้ปัญหามาด้วย แต่สำหรับใครที่หงุดหงิดอยากพ่นไฟ ก็มาพิมพ์ใส่ “ChatGPT” ได้นะ สร้างห้องนึงขึ้นมา เป็นห้องบ่นไปเลย ไม่ต้องไประรานใครในชีวิตจริงด้วย

ทำเช็กลิสต์กันลืม

ใครที่ขี้ลืม อยากได้ไอเดียเก็บของ หรือทำเช็กลิสต์ก็มาบอก “ChatGPT” ได้นะ ไม่ว่าจะเป็นเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนไปต่างประเทศ, เช็กลิสต์ Fixed cost ก่อนเปิดร้านอาหาร, เช็กลิสต์แต่งสวน เป็นต้น

ถามความรู้ทั่วไป

ปกติถ้า Search Google แล้วไม่เข้าใจก็ต้องไปตามอ่านบทความใหม่ต่อไป แต่ถ้าถามใน “ChatGPT” จะคล้ายกับตอนอยู่ในห้องเรียนที่สามารถยกมือถามเพิ่มเติม หรือขอให้ขยายความส่วนที่ไม่เข้าใจได้ทันที แถมยังอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายอีกต่างหาก

ช่วยเขียนโปรแกรมได้

“ChatGPT” สามารถเขียนโปรแกรมได้โดยใช้โปรแกรม JavaScript หรือ Python แถมยังตรวจสอบหา Error ในโค้ตได้อีกด้วย   

เก่งขนาดนี้ มิน่าล่ะ ใคร ๆ ถึงเอา “ChatGPT” มาใช้เป็นเลขาส่วนตัวด้วย 

แล้วคุณล่ะ เริ่มต้นใช้ “ChatGPT” บ้างหรือยังครับ?

Comments are closed.