“ChatGPT” เปิดตัวออกมาได้ไม่กี่เดือน โดย OpenAI ในเดือนพฤศจิกายน 2022 ก็เกิดการใช้งานที่หลากหลาย มีรูปแบบการใช้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวันจากทั่วทุกมุมโลกในระดับวินาที และมีการแชร์วิธีการทำงานที่คาดไม่ถึงส่งต่อกันเรื่อย ๆ จนเกิดการใช้งานตามกันมา เช่น ให้ช่วยทำการบ้าน, ช่วยเขียนบทความ, ทำงานวิจัย, เขียนโค้ต, ทำเว็ปไซต์
ข้อควรระวังก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน “ChatGPT”
นอกจากจะรู้ว่า “ChatGPT” ใช้ทำอะไรได้บ้าง หรือจะให้ทำงานอะไร เราต้องมาเข้าใจก่อนว่า “ChatGPT” มีข้อผิดพลาดอะไร หรือมีอะไรที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “ChatGPT” บ้าง เพราะหลายคนเข้าไปใช้งานโดยที่ไม่เข้าใจ จนเกิดจากใช้งานที่ผิดพลาด และส่งผลเสียต่องานที่คุณทำทั้งหมด เช่น ล่าสุดมีข่าวออกมาว่า Samsung สั่งลงโทษพนักงานที่นำโค้ดงานสำคัญไปถาม “ChatGPT” เพื่อขอให้ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับทำให้ความลับของบริษัทรั่วไหล
7 ข้อสำคัญเกี่ยวกับการใช้งาน “ChatGPT”
1. “ChatGPT” ไม่ถูกต้องเสมอไป
เราต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อมูลที่ได้จาก “ChatGPT” ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ไม่ได้แม่นยำ 100% ข้อมูลที่เราได้รับจาก “ChatGPT” จะเป็นเพียงไอเดียที่ให้เรานำไปต่อยอดเอง เราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเองอยู่ แต่ถึงกระนั้น “ChatGPT” ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดเวลาการทำงานของเราไปได้เยอะมาก
2. “ChatGPT” ต้องตรวจสอบที่มาที่ไปเสมอ
ในการทำงานของ “ChatGPT” จะดึงข้อมูลจากเว็ปไซต์ทั่วโลก เป็นคลังข้อมูลที่เก็บบันทึกเป็นล้าน ๆ ถ้าเราถาม “ChatGPT” มันจะประมวลผลจากทุกแหล่งมาให้เรา โดยที่ไม่สนใจแหล่งข้อมูลว่ามาจากไหน น่าเชื่อถือหรือไม่ ดังนั้นหากเราต้องการทราบแหล่งข้อมูลให้พิมพ์ถาม “ChatGPT” ไปได้เลย ว่าเอาเนื้อหามาจากที่ใด เพราะที่ต่างประเทศมีเคสนักศึกษาคนหนึ่งทำงานวิจัย โดยใช้ “ChatGPT” เขียนทั้งเล่มส่งอาจารย์โดยไม่ตรวจสอบอะไร สุดท้ายก็ต้องแก้ใหม่ทั้งเล่ม เนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง
3. “ChatGPT” อาจเจอเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น “ChatGPT” ดึงข้อมูลจากเว็ปไซต์ทั่วโลก จากทุกแหล่งมาให้เรา แน่นอนว่าบางอย่างมีลิขสิทธิ์ แต่ “ChatGPT” ไม่รู้ว่านี่มีลิขสิทธิ์ด้วย ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้งานให้ถาม “ChatGPT” ด้วยว่าข้อมูลตรงนี้เอามาจากไหน และให้เครดิตต้นทางด้วย
4. “ChatGPT” ข้อมูลภายในรั่วไหล
บางครั้งพนักงานบริษัทก็ใช้ “ChatGPT” เพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่าง หรือให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แต่ปัญหาจะเกิดอย่างใหญ่โตหากเป็นองค์กรใหญ่อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นของเคสพนักงาน Sumsung เพราะการที่เราใส่ข้อมูลให้ “ChatGPT” เท่ากับว่าเราปล่อยข้อมูลภายในให้ “ChatGPT” เก็บข้อมูลทันที และถ้าผู้ใช้งานอีกฝั่งเป็นองค์กรคู่แข่งมาเจอข้อมูลของบริษัทเราใน “ChatGPT” เท่ากับว่าข้อมูลรั่วไหลแบบเปิดเผยทั่วโลกได้เลยทีเดียว ดังนั้นแนะนำว่าไม่ต้องให้ข้อมูลอย่างละเอียด แต่ให้ในเชิงอ้อม ๆ “ChatGPT” ก็ทำงานและส่งมาให้เราไปทำต่อได้แล้ว
5. “ChatGPT” สะกดผิดได้
อย่างที่ทราบกันดีว่า “ChatGPT” ประมวลผลจากข้อมูลจากทั่วโลกมาให้เรา เมื่อข้อมูลมหาศาลก็ย่อมมีทั้งคำที่ถูกและผิดผสมปนเปกันไป เมื่อใช้งานจริง “ChatGPT” ก็ส่งมาให้หมด โอกาสที่จะเจอคำที่สะกดผิดก็เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องพิสูจน์อักษรด้วยตัวเองก่อนนำไปใช้
6. “ChatGPT” ไม่เข้าใจอารมณ์ของมนุษย์ (ด้านจิตวิทยา)
สิ่งที่ “ChatGPT” ให้มาจะเป็นข้อมูลเสียส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจอารมณ์และการสื่อความหมายของมนุษย์ได้ทั้งหมด หากจะใช้งาน “ChatGPT” ในเชิงการตลาดที่ต้องมีการใช้จิตวิทยาเพื่อสื่อสารกับลูกค้า แนะนำว่าต้องเอามาเกลาคำเองอีกครั้ง เพราะตัวเราเองจะเข้าใจวิธีการสื่อสารกับลูกค้าได้ดีกว่า “ChatGPT”
7. “ChatGPT” ไม่มีทางเข้าใจธุรกิจ / สินค้า / บริการของคุณ ได้ดีเท่าคุณ
หากใช้ “ChatGPT” ในการทำบทความด้านการตลาด ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าถามแบบกว้าง ๆ สั้น ๆ คำตอบที่ได้จะไม่ตรงวัตถุประสงค์ในใจเรา เนื่องจาก “ChatGPT” ยังไม่รู้จักแบรนด์ หรือสินค้าของเรา ดังนั้นเราจึงต้องค่อย ๆ ใส่ข้อมูลที่มีความจำเพาะเจาะจงลงไปเรื่อย ๆ และมากเพียงพอ เพื่อให้ “ChatGPT” เกิดการเรียนรู้ในธุรกิจ / สินค้า / บริการแต่ละอย่าง ซึ่งแนะนำว่า 1 ห้องแชทให้คุยเพียง 1 สินค้าเท่านั้น เมื่อคุยไปเรื่อย ๆ คุยยาว ๆ จะทำให้ “ChatGPT” ตอบได้ตรงประเด็น ตรงใจเรามากขึ้น และมีประสิทธิภาพต่อการนำไปใช้งาน
ข้อสรุป
นี่เป็นเพียง 7 ข้อที่ควรรู้เท่านั้นในการใช้งาน “ChatGPT” หากเข้าใจส่วนนี้ก็สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการใช้งาน AI เป็นดาบสองคมที่มนุษย์ต้องระวัง ทุกข้อดีล้วนมีข้อเสียตามมาเสมอ และหากข้อมูลที่เป็นความลับอย่าพลาดพลั้งให้ AI นะครับ
สอบถามรายละเอียดคลาสแจ้งกับทีมงานได้เลยครับ
LINE : @insightist
หรือ คลิก 👇
https://insightist.co/line/